บทที่ 4
รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลในแต่ละด้านเพื่อนำไปกำหนดหาความต้องการการใช้งานในเชิงปริมาณที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ
โดยจะมีการแยกพิจารณาในด้านหัวข้อ ด้านหน้าที่ใช้สอย ด้านรูปแบบ ด้านเศรษฐศาสตร์
ด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ของโครงการที่ตรงเป้าหมายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ข้อคำนึงถึงในการทำรายละเอียดโครงการ
1.รายละเอียดโครงการจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับโครงการในแง่ของความต้องการด้านหน้าที่ใช้สอย,ด้านรูปแบบ,ด้านเศรษฐศาสตร์และด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ของโครงการ
2.รายละเอียดของโครงการจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวกับประเภทอาคารและข้อจำกัดต่างๆในแต่ละพื้นที่ของโครงการ
3.รายละเอียดโครงการจะได้จากการสังเคราะห์แนวความคิดโครงการ
โดยอาจจะต้องใช้หลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการคำนวณหรือสังเคราะห์เพื่อให้ได้ความต้องการโครงการที่เป็นรูปธรรมโดยที่จะต้องตอบสนองต่อเป้าหมายของโครงการในทุกๆด้าน
4.ในขั้นตอนของการออกแบบอาจที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดความต้องการของโครงการแต่ต้องรักษาภาพรวมของโครงการไว้โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ควรที่จะเกิน
5 %ของข้อมูลรวม
5.ในทุกรายละเอียดและข้อมูลของโครงการจะต้องสามารถที่จะอ้างอิงได้ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จากโครงการตัวอย่างจากผู้เชี่ยวชาญหรือจากการค้นคว้าในหนังสือ
ซึ่งจะต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งที่นำมาใช้ในการเขียนความต้องการโครงการ
4.1 รายละเอียดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย(FUNCTION
NEEDS)
การคำนวณหาพื้นที่ใช้สอยแล้วสามารถนำไปกำหนดความต้องการโครงการด้านหน้าที่ใช้สอยออกมาในรูปแบบของพื้นที่ได้โดยการคำนวณหาพื้นที่
ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
1.จำนวนผู้ใช้ประจำและระยะเวลาการใช้งาน
2.ความถี่ของการใช้งาน
3.ปริมาณกิจกรรมหลัก
4.ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
5.ประสิทธิภาพอาคาร
6.สัดส่วนของพื้นที่ของกิจกรรม
7.กฎหมาย,ข้อบังคับและเทศบัญญัติ
ในการคำนวณพื้นที่ใช้สอยโครงการพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีสามารถแยกคำนวณส่วนต่างของโครงการ
ได้ดังนี้
1.ส่วนองค์ประกอบหลัก
ได้แก่ ส่วนจัดแสดงนิทรรศการ
2.ส่วนองค์ประกอบรอง
ได้แก่ ส่วนห้องสมุด โรงภาพยนตร์สามมิติ
ห้องประชุมและห้องปฏิบัติการ
3.ส่วนสนับสนุนโครงการ
ได้แก่ ส่วนจัดแสดงสินค้า ร้านขายของที่ระลึก ร้านค้าและร้านอาหาร
4.ส่วนสาธารณะ
ได้แก่ส่วนโถงหลัก และลานกิจกรรมสาธารณะ
5.ส่วนบริหารโครงการ
6.ส่วนบริการอาคาร
7.ส่วนที่จอดรถ
กราฟที่ 4.1 แสดงพื้นที่ของโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอแห่งประเทศไทย
พื้นที่ของโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
ส่วนองค์ประกอบหลักโครงการ 35% 4,900ตารางเมตร
ส่วนองค์ประกอบรองโครงการ 22% 2,550 ตารางเมตร
ส่วนสนับสนุนโครงการ 12% 1,416 ตารางเมตร
ส่วนบริหารโครงการ 3% 567 ตารางเมตร
ส่วนสาธารณะ 8% 1,275 ตารางเมตร
ส่วนบริการโครงการ 4% 732 ตารางเมตร
ส่วนจอดรถ 16% 3,000 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ 14,440 ตารางเมตร
ตารางที่
4.2 แสดงสัดส่วนพื้นที่โครงการต่อจำนวนผู้ใช้โครงการหลักของโครงการประเภทสถาบันการศึกษา
4.1.1ส่วนจัดนิทรรศการพิพิธภัณฑ์
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.3 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนจัดนิทรรศการพิพิธภัณฑ์
4.1.2ส่วนบริการการศึกษา
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.4 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนบริการการศึกษา
4.1.3ส่วนสนับสนุนโครงการ
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.5 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนสนับสนุนโครงการ
4.1.4ส่วนพื้นที่สาธารณะ
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.6 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนพื้นที่สาธารณะ
4.1.5ส่วนบริหารโครงการ
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.7 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนบริหารโครงการ
4.1.6ส่วนบริการโครงการ
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.8 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนบริการโครงการ
4.1.7ส่วนจอดรถโครงการ
ความต้องการในการใช้พื้นที่ของกิจกรรม
ตารางที่4.9 แสดงรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยของส่วนจอดรถโครงการ
4.2
รายละเอียดโครงการด้านรูปแบบ(FORM NEEDS)
การเลือกที่ตั้งโครงการในส่วนของรายละเอียดย่อย3แห่งนั้นได้มีกำหนดขอบเขตพื้นที่ให้อยู่ใน
ถนนเส้นพญาไท 2แห่ง เขตปทุมวัน และถนนรัชดาภิเษก1 แห่ง เขตห้วยขวาง โดยที่ตั้งทั้ง
3แห่งนี้ต้องมีศักยภาพที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งเสริมในส่วนต่างๆที่ดีแก่โครงการพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี
4.2.1 หลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria for Site Selection)
ที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ แห่งประเทศไทย เป็นโครงการที่ต้องการที่ตั้งที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
เพื่อส่งเสริมให้โครงการสามารถดำเนินการได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มากที่สุด
ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการทั้ง3แห่งให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันมีดังนี้
1.การใช้ที่ดิน (Land Use) โครงการเหมาะอยู่ในเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง-มาก
หรือเป็น
พื้นที่ที่มีการ
พัฒนาขยายตัว
ไม่เหมาะสมที่จะอยู่เขตพาณิชยกรรม หรือ เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพราะต้องคำนึงถึงการสร้างโครงการ
กับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิมและยากลำบากต่อหน่วยงานของรัฐ
มีการคมนาคมที่สะดวกและต้องมีสถานที่ที่ช่วยสนับสนุนโครงการอยู่ในเขต
เช่นโครงการของทางราชการหรือเอกชนที่สนับสนุนโครงการ และมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรมหลักภายในโครงการ
อีกทั้งลักษณะการใช้ที่ดินต้องสอดคล้องกับประเภทของโครงการ
ไม่ขัดต่อข้อกำหนดของการใช้ที่ดินของผังเมืองรวม
2.
กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนนักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องผ้าทอ
3.การคมนาคมขนส่ง (Transportation and Traffic) การเข้าถึงโครงการ ต้องมีความสะดวกสบายและรวดเร็ว โครงการควรจะมีสภาพแวดล้อมไปด้วยรูปแบบการคมนาคมที่เข้าสู่ตัวโครง
การที่หลากหลาย
อยู่ในรูปการคมนาคมที่สะดวก สามารถเข้าถึงได้โดย ซึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
และอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพการจราจรไม่แออัดมากนัก
เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของโครงการ
อีกทั้งยังทำให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆมีความสนใจที่จะเข้าดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ
โดยที่ตั้งโครงการทั้ง3แห่งต้องมีระบบเครือข่ายคมนาคมที่เข้าถึงโครงการเหมือนกัน
และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
4.โครงการสนับสนุน
ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีโครงการต่างๆของหน่วยราชการเดิมที่มีอยู่
หรือสถานศึกษาเพื่อช่วยสนับสนุนโครงการและมีหน่วยงานเอกชนหรือภาครัฐที่สามารถสนับสนุนโครงการได้อยู่ในพื้นที่
5.สภาพแวดล้อม
เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติและชาวไทย
หลักเกณฑ์การพิจารณาที่ตั้ง(Site)โครงการพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี
มีดังนี้
1.ความสะดวกในการเข้าถึง (Accessibility)
เนื่องจากโครงการเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ เป็นโครงการลักษณะเผยแพร่ความรู้
ที่มีการดำเนินกิจกรรมหลัก คือการจัดแสดงงานต่างๆภายในโครงการ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลภายนอกโครงการที่เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมภายในโครงการจำนวนมาก
ดังนั้นจึงต้องมีการเข้าถึงที่สะดวก และง่ายต่อการรับรู้
อีกทั้งยังต้องมีมุมมองของการเข้าถึงโครงการที่ชัดเจน อีกทั้งต้องคำนึงถึงเรื่องการเข้าถึงที่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายต่างๆให้กับโครงการ
2.ความสัมพันธ์โครงการที่เกี่ยวข้อง(Linkage)
พื้นที่ตั้งโครงการควรจะมีสถานที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมโครงการ
ทั้งในส่วนของ
การเกื้อหนุนทางด้านเศรษฐกิจ
การค้า การตลาด และการเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ อีกทั้งโครงการมีลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย
ทั้งส่วนเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล และการจัดแสดงงาน และพิพิธภัณฑ์
ดังนั้นควรมีการเชื่อมต่อกับโครงการอื่นที่มีส่วนส่งเสริม และมีความสัมพันธ์กันทางด้านกิจกรรม
เช่นอยูใกล้กับแหล่งสถานศึกษาของเยาวชน บุคคคลทั่วไป
3.การมองเห็นที่ตั้งและลักษณะเชื้อเชิญ
(Approach and Invitation)
ลักษณะของที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมของโครงการต้องเอื้ออำนวยต่อโครงการในแง่ของการมองเห็นซึ่งต้องสามารถมองเห็นโดยง่ายจากในระยะใกล้
และระยะไกล อีกทั้งต้องมีสภาพของสิ่งแวดล้อมที่เชื้อเชิญ
และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายต่างๆของโครงการให้เข้าสู่โครงการ
4.สภาพบริเวณโดยรอบ
(Surrounding)
สภาพแวดล้อมมีความสำคัญมากที่สุดในการเลือกที่ตั้งโครงการ ควรตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
อยู่ในแหล่งชุมชนที่มีภาพลักษณ์ส่งเสริมสถาบันการศึกษา
อีกทั้งสภาพแวดล้อมของโครงการยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของโครงการ
5.แนวโน้มการใช้ที่ดิน (Trend in Changing Zoning Restriction)
ที่ตั้งโครงการจะต้องไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในการจำกัดเขตการใช้ที่ดิน
เพราะอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงการและมีความขัดแย้งกับลักษณะกิจกรรมของโครงการ
ที่ตั้งโครงการจะต้องไม่อยู่ในเขตพื้นที่
ที่มีแนวโน้มการเวนคืน และควรจะเป็นพื้นที่ที่เตรียมเพื่อจะใช้จัดตั้งหรือพัฒนาโครงการในอนาคต
จะยิ่งช่วยสนับสนุนโครงการพิพิธภัณฑ์นี้หากเป็นพื้นที่ดินของหน่วยงานในภาครัฐฯ
ซึ่งพืนที่ดินตรงนี้ หัวมุมสามย่านเป็น
พื้นที่ดินที่จะกำลังพัฒนาเป็นจามจุรี่สแครว์ 2 ในอนาคต
วึ่งตัวโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ
มีความเหมาะสมที่จะตั้งโครงการภายในพื้นที่แห่งนี้ เพื่อเป็นจัดแสดงผลงาน และแหล่งเรียนรู้
ภายใต้แนวความคิด รูปแบบโครงการ "มิกซ์ยูส"
เนื่องจากโครงการมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหาที่ตั้งโครงการ
ดังนั้นจึงนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการเพื่อหาที่ตั้งโครงการที่เหมาะสมที่สุดจากที่ตั้งโครงการทั้ง
3แห่ง โดยเป็นหลักเกณฑ์การให้ลำดับคะแนนตามลำดับความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์ดังนี้
1.พื้นที่ตั้งโครงการที่1
อยู่บนเส้นทาง ถนนพระรามมา เขตปทุมวัน
- พื้นที่ดินมีขนาดที่เหมาะสมต่อการตั้งโครงการ
- พื้นที่ site มีการปรับหน้าดินไว้แล้ว
ไม่ต้องปรับปรุงมากนัก
ด้านหน้าติดกับสถานีรถไฟฟ้าสยาม
ด้านหน้าโครงการฝั่งตรงข้าม มีห้างสรรพสินค้าสยามเซ็นเตอร์
ห้างสรรพสินค้าพารากอน ที่ช่วยสนับสนุนโครงการ
ด้านหลัง เป็นมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ขนาดที่ตั้งโครงการประมาณ
8,372ตร.ม.
FAR: 1:10
OSR
ร้อยละ 3
2.พื้นที่ตั้งโครงการที่2
ตำแหน่งที่ตั้ง พื้นที่โล่ง แยกหัวมุมสามย่าน
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน
-
พื้นที่ดินมีขนาดที่เหมาะสมต่อการตั้งโครงการ
- พื้นที่ site มีการปรับหน้าดินไว้แล้ว พร้อมที่จะรองรับโครงการ
- Siteอยู่ติดหัวมุมถนน และติดถนนสองฝั่ง
ด้านหลังติดกับกลุ่มอาคารที่มีความสูงไม่มาก ด้านหน้าฝั่งตรงข้าม site มีจามจุรี่สแควร์ที่ช่วยสนับสนุนโครงการ
ขนาดที่ตั้งโครงการประมาณ
20,349 ตร.ม.
FAR
: 1:10
OSR
ร้อยละ 3
3.พื้นที่ตั้งโครงการที่3
ตำแหน่งที่ตั้ง อยู่บนเส้นทาง
ถนนรัชดาภิเษก (ถนน2เลน)
ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย200เมตร
- พื้นที่ดินมีขนาดเหมาะสมกับการตั้งโครงการ
- พื้นที่ site ยังไม่เคยถูกปรับปรุง พื้นที่มีโชว์รูมขนาดเล็กตั้งอยู่
-
ด้านข้างติดกับอาคารขนาดสูง (ตึกสูง)ฝั่งตรงข้ามเป็นสถานทูตจีน
- ด้านหลัง โรงละคร Siam-Niramit รัชดาลัยเทียเตอร์
12,772 ตร.ม.
FAR
1 :4.5
OSR
ร้อยละ 6.5
ตารางที่4.11
แสดงการเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการทั้ง 3แห่ง
หมายเหตุ น้ำหนักคะแนนแบ่งตามระดับความสำคัญ 4 ระดับ ดังนี้
A = 4
point B = 3 point
C = 2 point D = 1 point
สรุปที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ
แห่งประเทศไทย
เนื่องจากการพิจารณาเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆทั้ง
3แห่งแล้ว สรุปได้ว่าที่ตั้งโครงการที่3 พื้นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวัทยาลัย
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน มีศักยภาพเหมาะสมที่สุดแก่การตั้งโครงการ
ซึ่งสะดวกต่อการเข้าถึงทั้งในแง่ของระบบคมนาคมห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินไม่เกินพียง500เมตร
หรือการที่ที่ตั้งโครงการอยู่ติดริมถนนพญาไท
อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า สถานแหล่งสถานศึกษา อยู่ตรงข้ามกับจามจุรี่สแคร์วที่ และมีมุมมองที่ดีทั้งภายในสู่ภายนอกโครงการ
หรือภายในตัวโครงการเอง
หมายเหตุ น้ำหนักคะแนนแบ่งตามระดับความสำคัญ 4 ระดับ ดังนี้
A = 4
point B = 3 point
C = 2 point D = 1 point
สรุปที่ตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ แห่งประเทศไทย
เนื่องจากการพิจารณาเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆทั้ง
3แห่งแล้ว สรุปได้ว่าที่ตั้งโครงการที่3 พื้นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวัทยาลัย
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน มีศักยภาพเหมาะสมที่สุดแก่การตั้งโครงการ
ซึ่งสะดวกต่อการเข้าถึงทั้งในแง่ของระบบคมนาคมห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินไม่เกินพียง500เมตร
หรือการที่ที่ตั้งโครงการอยู่ติดริมถนนพญาไท
อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า สถานแหล่งสถานศึกษา อยู่ตรงข้ามกับจามจุรี่สแคร์วที่ และมีมุมมองที่ดีทั้งภายในสู่ภายนอกโครงการ
หรือภายในตัวโครงการเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น