บทที่ 3
แนวความคิดโครงการ
โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
เป็นโครงการทางด้านพิพิธภัณฑ์กึ่งศูนย์เรียนรู้ เป็น โครงการที่เน้นถึงความเป็นสากล
ซึ่งต้องสามารถนำเสนอตัวโครงการออกสู่ในระดับมาตราฐานของชาวต่างประเทศได้ อีกทั้งความเป็นอีกทั้งเป็นโครงการที่เกี่ยวกับด้านแฟชั่น
หรือศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับผ้าทั้งในการออกแบบ
และตัดเย็บประกอบกับในเนื้อหาของแฟชั่นก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงในตัวเองตลอดเวลาไปตามยุคตามสมัย
ดังนั้นจึงมีผลต่อการวางแนวความคิดโครงการสถาบันแฟชั่นดีไซน์นานาชาติ ดังนี้
· รูปลักษณ์ของโครงการควรจะสื่อความเป็นสถาบันทางแฟชั่นดีไซน์อย่างชัดเจน
ในลักษณะที่สวยงาม น่าสนใจ และสื่อความนำสมัยด้วยเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
· โครงการต้องมีความลื่นไหลและต่อเนื่องทั้งในส่วนของรูปลักษณ์อาคาร
พื้นที่ว่าง และระบบสัญจรภายในโครงการ เพื่อสื่อความเป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวที่แสดงออกมาในการแสดงแบบเสื้อผ้า
• โครงการควรจะจัดพื้นที่จัดแสดงผลงาน
โชว์ผลงาน ให้มีความน่าสนใจ และก่อให้เกิดการเรียนรู้
· โครงการควรจะมีการสร้างพื้นที่ว่าง บรรยากาศ
และสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมทางด้านการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์
และสนใจในศิลปะของผ้า ตลอดจนการออกแบบที่มีคุณภาพ
โดยสามารถสร้างจินตนาการออกมาได้อย่างสวยงาม และไม่รู้สึกที่จะเบื่อหน่าย
· โครงการควรจะนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย
และฟังชั่นของอาคารที่มีความพิเศษ
ตลอดจนโครงสร้างพิเศษที่ทันสมัยเข้ามาใช้ร่วมในการออกแบบโครงการ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนการจัดแสดงแฟชั่นโชว์
เพื่อให้ตอบสนองกับแนวความคิดโครงการทั้งหมด
จากแนวความคิดโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
สามารถนำเสนอความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการจัดทำรายละเอียดโครงการ(Programming
Procedure) โดยแนวความคิดโครงการสามารถแยกออกเป็น 4ด้าน ได้ดังนี้
3.1แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย(Function
Concepts)
3.2แนวความคิดด้านรูปแบบ(Form
Concepts)
3.3แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์(Economy
Concepts)
3.4แนวความคิดด้านเทคโนโลยี(Technology
Concepts)
3.1แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย(Function
Concepts)
แนวความคิดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอยเป็นส่วนที่แสดงถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโครงการกับรูปแบบการใช้พื้นที่
ดังนั้นในการกำหนดแนวความคิดด้านนี้จึงแยกออกมาทีละองค์ประกอบโดยแทรกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในแต่ละองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนี้
3.1.1ภาพรวมของโครงการ(Overall
Project)
3.1.2ส่วนองค์ประกอบหลักโครงการ (Main –Function Zone)
ส่วนจัดแสดงผลงานผ้าทอ
ทั้งถาวร และชั่วคราว (Exhibition Zone)
3.1.3ส่วนองค์ประกอบรองโครงการ(Sub-Function
Zone)
การศึกษาทางผ้าทอ
(Education Zone) ได้แก่ส่วนภาคทฤษฎี และส่วนภาคปฏิบัติ
ส่วนบริการการศึกษา(Education Service Zone) ได้แก่ส่วนห้องสมุดและโสตทัศนูปกรณ์
3.1.4ส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์
3.1.5.ส่วนสาธารณะ(Public
Zone)
3.1.6ส่วนสนับสนุนโครงการ(Supporting
Function Zone) ได้แก่ ส่วนร้านค้า และร้านอาหาร
3.1.7ส่วนบริหารโครงการ
(Administration Zone)
3.1.8ส่วนบริการอาคาร(Service
Zone)
3.1.9ส่วนจอดรถ
(Parking Zone)
โดยแต่ละส่วนจะมีการกำหนดแนวความคิดโครงการ(Programing
Concept) ตามแนวความคิดที่สัมพันธ์กับข้อมูลพื้นฐาน
ด้วยหัวข้อแนวความคิดต่างๆดังนี้
1. ส่วนจัดแสดงนิทรรศการ(Exhibition
Zone)
ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ
-ส่วนที่เป็นการจัดแสดงนิทรรศการแบบถาวร
เป็นส่วนการจัดแสดงผลงานประวัติ ความเป็นมาของผ้าทอไทยชนิดต่างๆ
ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยุคสมัยเริ่มต้นจนพัฒนามาถึงยุคปัจจุบันและรวมถึงยุคอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น
การจัดนิทรรศการจะถูกแบ่งแยกไว้ตามประเภทของผ้าทอ
-ส่วนที่เป็นการจัดแสดงนิทรรศการแบบชั่วคราว
เป็นส่วนการจัดแสดงผลงานของผ้าทอไทยรูปแบบต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันจากทั่วโลก และภายในประเทศไทย รวมไปถึงการจัดให้มีส่วนการจัดแสดงผลงานของนักเรียน-นักศึกษาไทย
บุคคลทั่วไป ที่อาจจะผ่านการประกวดจากงานต่างๆเพื่อไม่ให้สูญหายและถูกมองข้าม
ซึ่งอาจจะนำไปพัฒนาต่อและสามารถจดสิทธิบัตรได้
ซึ่งจะหมุนเวียนเปลี่ยนชิ้นงานไปเรื่อยๆ
จัดแสดงเนื้อหาที่แปลกใหม่น่าสนใจอาจจะมีการเปลี่ยนงานที่จัดแสดงในทุกๆ1-2เดือน
เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการรับชม
2.
ส่วนการศึกษา(Education Zone)
เป็นส่วนการเรียนการสอนให้ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอ
การออกแบบผ้าทอ ลาย ความรู้พืเนฐานด้านการทอ ตัดเย็บ เป็นต้น มีการเรียนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
ห้องเรียนของการโครงการจะมีห้องเรียนที่หลากหลายเนื่องจากการมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน
สามารถเข้าถึงได้โดยตรงจากโถงทางเข้าหลัก สามารถเชื่อมต่อกับส่วนบริหารการศึกษาเพื่อสะดวกในการบริหารงาน
ส่วนห้องสมุดและโสตทัศนูปกรณ์สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากโถงหลักสำหรับบุคคลภายนอก
และเข้าถึงได้จากส่วนการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ใช้หลักของโครงการ
3.
ส่วนจัดแสดงงานแฟชั่นโชว์(Fashion Show Zone)
จุดประสงค์หลักคือเป็นส่วนที่นักศึกษาแสดงผลงานที่ได้ออกแบบจากผ้าทอ
หรือแป็นผลงานที่ได้จากการออกแบบผ้าชนิดอื่นๆ
และจุดประสงค์รองคือเป็นสถานที่ให้เหล่าดีไซน์เนอร์มาใช้แสดงผลงานแฟชั่นให้กับบุคคลภายนอกและภายในได้เข้าชม
หรือเป็นการจัดแสดงงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศิลปศาสตร์แฟชั่น โดยส่วนจัดแสดงงานแฟชั่นโชว์สามารถเข้าถึงโดยง่ายจากภายนอก
สำหรับกลุ่มบุคคลทั่วไป
และสามารถเข้าได้โดยตรงสำหรับกลุ่มผู้ใช้โครงการหลักของโครงการอีกทั้งควรมีส่วนเส้นทางบริการอาคารรับรองส่วนนี้
โดยแยกออกจากเส้นทางหลัก และเส้นทางรองของโครงการ
4.ส่วนสาธารณะ (Public Zone)
เป็นส่วนเชื่อมองค์ประกอบต่างๆของโครงการเข้าด้วยกัน
อีกทั้งเป็นจุดผ่านหลักของโครงการก่อนที่จะเข้าสู่ส่วนต่างๆของโครงการ
5.ส่วนร้านค้า และร้านอาหาร (Canteen and
Retail Shops)
ส่วนนี้เป็นส่วนสนับสนุนโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การเข้าถึงส่วนนี้ควรเข้าถึงได้ง่ายทั้งส่วนบุคคลกลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
และกลุ่มบุคลภายนอก อีกทั้งต้องใกล้กับส่วนบริการอาคารในการขนถ่ายสินค้า
6.
ส่วนบริหารโครงการ (Administration Zone)
เป็นส่วนพื้นที่ของกลุ่มผู้ที่ทำหน้าที่บริหารโครงการ
ได้แก่กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มพนักงาน โดยส่วนพื้นที่นี้จะแยกออกมาเป็นอีกส่วนขององค์ประกอบต่างๆของโครงการ
โดยควรจะมีทางเข้าอีกส่วนหนึ่งเพื่อง่ายต่อการจำแนกประเภทผู้ใช้โครงการ
7.
ส่วนบริการอาคาร (Service
Zone)
เป็นส่วนที่มีความสำคัญกับโครงการเนื่องจากเป็นส่วนที่ดูแลบำรุงรักษาอาคาร
และควบคุมงานระบบทุกประเภทของแต่ละองค์ประกอบโครงการ
ดังนั้นส่วนบริการอาคารต้องมีเส้นทางบริการอาคารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกองค์ประกอบที่สำคัญ
8.ส่วนจอดรถ (Parking Zone)
ส่วนที่จอดรถของโครงการ
ต้องสามารถเชื่อมต่อกับทางเข้าหลักของโครงการได้
และสามารถเข้าถึงส่วนบริการอาคารโดยง่าย เพื่อง่ายต่อการขนถ่ายสินค้า
และการให้บริการอาคาร
2.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเป็นการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมผู้ใช้โครงการสัมพันธ์กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์ประกอบ
โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทยมีแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ในแต่ละองค์ประกอบดังนี้
ก.การจัดกลุ่มกิจกรรม(Activities
Grouping)
แผนผังที่3.2
แสดงการจัดกลุ่มกิจกรรมกลุ่มรวมแยกตามผู้ใช้โครงการ
ข.ลำดับความสำคัญของกิจกรรม(Sequence of Activities)
แผนผังที่3.3
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของกิจกรรมกับกลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
ง.ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม(Activity
Requirements)
โดยแนวความคิดโครงการในเรื่องความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรมจะมีรายละเอียดแสดงถึงเนื้อหา
และเรื่องราวของกิจกรรม รวมถึงความต้องการของกิจกรรมนั้นๆให้เกิดขึ้นภายในโครงการ
3.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ(Operation)
ก.ระบบบริการ(Service
Management)
ข.ระบบรักษาความปลอดภัย(Security
Control)
รูปที่3.10 ระบบรักษาความปลอดภัยในส่วนของการเข้าสู่สถาบัน
ด้วยการควบคุมการเข้าออก ของยานพาหนะ และกลุ่มผู้ใช้โครงการ ด้วยพนักงานรักษาความปลอดภัย
ส่วนการศึกษา(Education
Zone)
-ส่วนองค์ประกอบหลักของโครงการคือส่วนการจัดแสดง แนวความคิดโครงการในส่วนของส่วนการจัดแสดง
คือการใช้เส้นทางสัญจรในการแบ่งประเภทผู้ใช้โครงการให้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยสามารถผ่านโถงส่วนสาธารณะ
และส่วนนิทรรศการโชว์ผลงานดึงดูดความสนใจก่อน แล้วจึงแยกไปตามส่วนการใช้งาน
เพื่อง่ายต่อการควบคุมกลุ่มผู้ใช้งาน
และเป็นการบังคับเพื่อให้เกิดจึงรวมกันของกลุ่มผู้ใช้งาน
เพื่อให้เกิดการพบปะสังสรรค์
-ส่วนการศึกษาหลัก
ได้แก่ส่วนห้องเรียนทางภาคทฤษฎี และส่วนทางด้านภาคปฏิบัติจะต้องสามารถเข้าถึง
และรับรู้ได้โดยง่ายต่อการใช้งาน และทั้งสองส่วนนี้ต้องสามารถเข้าถึงกันได้โดยง่าย
เพราะมีความสัมพันธ์กันในแง่ของการใช้งาน
-ส่วนห้องพักผู้สอนและส่วนบริหารการศึกษาต้องอยู่ใกล้เคียงกัน
เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันในการปฏิบัติงาน และมีทางเข้าสู่ทั้ง
2ส่วนนี้แยกออกจากเส้นทางหลัก เพื่อแยกประเภทผู้ใช้งานให้ชัดเจน
-เส้นทางอันเป็นเส้นบริการส่วนการศึกษาซึ่งสัมพันธ์กับห้องแม่บ้าน
และห้องเก็บของ ต้องแยกออกไปอย่างชัดเจนไม่ปะปนกับเส้นทางหลัก
และเส้นทางรองเพื่อสามารถแบ่งประเภทกลุ่มผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน
ส่วนบริการการศึกษา(Education Service Zone)
-ส่วนห้องสมุด
ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกลุ่มผู้ใช้โครงหลัก และกลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
ดังนั้นจึงควรเข้าถึงง่ายจากส่วนของการศึกษา และส่วนสาธารณะของโครงการ
โดยสามารถแยกเส้นทางของแต่ละกลุ่มผู้ใช้โครงการได้อย่างชัดเจน
-ส่วนโสตทัศนูปกรณ์
ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกลุ่มผู้ใช้โครงหลัก และกลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
ดังนั้นจึงควรเข้าถึงง่ายจากส่วนของการศึกษา และส่วนสาธารณะของโครงการ
โดยสามารถแยกเส้นทางของแต่ละกลุ่มผู้ใช้โครงการได้อย่างชัดเจน
ส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์
ส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์ เป็นส่วนที่จัดได้ว่าเป็นแนวความคิดโครงการ
ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนส่วนการศึกษาในการใช้แสดงผลงานของนักศึกษา
หรือเป็นส่วนจัดแสดงงานแฟชั่นโชว์ต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยนักศึกษาคณะนฤมิตศิลป์ สาขาแฟชั่นดีซายด์
หรือจะเป็นองค์กร ห้องเสื้อ บริษัท
องค์กรต่างๆที่เช่าพื้นที่เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้า
ดังนั้นส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นหน้าตาของโครงการ
ดังนั้นแนวความคิดโครงการด้านความสัมพันธ์ส่วนจัดแสดงแฟชั่นโชว์
จึงมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนแสดงแฟชั่นโชว์มีส่วนของพื้นที่ใช้สอยที่มีความหลากหลาย
ไม่ว่าส่วน Private Zone ส่วน Public Zone หรือส่วน Service Zone ดังนั้นกลุ่มผู้ใช้งานจึงมีความหลากหลายดังนั้นจึงควรแยกกลุ่มการใช้งานให้อย่างชัดเจน
แต่ต้องสามารถรับรู้และเข้าถึงได้โดยง่าย
ส่วนร้านค้าและร้านอาหาร(Restaurant Zone)
ส่วนสนับสนุนโครงการ
ได้แก่ส่วนที่เป็นร้านค้า
และร้านอาหารที่มีหน้าที่คอยรองรับกลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก และรองของโครงการ
ดังนั้นในส่วนของความสัมพันธ์จะสัมพันธ์กับส่วนโถงหลักของโครงการเนื่องจากต้องรองรับกลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
และกลุ่มบุคคลทั่วไป และที่สำคัญต้องใกล้กับส่วนบริกอาค
เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้าเข้าสู่ส่วนสนับสนุนโครงการ
โดยควรแยกทางสัญจรหลัก รอง และเส้นทางบริการออกจากกันอย่างชัดเจน
โดยมีรายละเอียดในส่วนร้านค้า
ส่วนบริหารโครงการ (Administration Zone)
ส่วนบริการอาคาร(Service Zone)
3.2แนวความคิดด้านรูปแบบ(FORM CONCEPTS)
3.2.1หลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria
for Site Selection)
โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
เป็นโครงการที่ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆโดยเฉพาะจะต้องอยู่ในที่ตั้งที่เหมาะสมต่อทั้งรูปลักษณ์โครงการ
และตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ตั้ง(Site)โครงการ
1.หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ
2.หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้ง
1.หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาที่ตั้งโครงการทั้ง
3แห่งนั้น ที่ตั้งโครงการทั้ง 3แห่งต้องมีศักยภาพใกล้เคียงกัน โดยโครงการนั้นมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ตั้งโครงการดังนี้
1.การใช้ที่ดิน โครงการเหมาะอยู่ในเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง-มาก
หรือเป็น
พื้นที่ที่มีการ
พัฒนาขยายตัว
ไม่เหมาะสมที่จะอยู่เขตพาณิชยกรรม หรือ เขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพราะต้องคำนึงถึงการสร้างโครงการ กับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิมและยากลำบากต่อหน่วยงานของรัฐ
มีการคมนาคมที่สะดวกและต้องมีสถานที่ที่ช่วยสนับสนุนโครงการอยู่ในเขต
เช่นโครงการของทางราชการหรือเอกชนที่สนับสนุนโครงการ
2. กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนนักศึกษา
หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องผ้าทอ
3.การคมนาคมขนส่ง การเข้าถึงโครงการ ต้องมีความสะดวกสบายและรวดเร็ว
4.โครงการสนับสนุน ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีโครงการต่างๆของหน่วยราชการเดิมที่มีอยู่
หรือสถานศึกษาเพื่อช่วยสนับสนุนโครงการและมีหน่วยงานเอกชนหรือภาครัฐที่สามารถสนับสนุนโครงการได้อยู่ในพื้นที่
5.สภาพแวดล้อม เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติและชาวไทย
2.ด้านเทคนิค
(Techniques)
2.1การใช้ที่ดิน (Land Use)
เนื่องจากโครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอ
เป็นโครงการทางพิพิธภัณฑ์กึ่งศูนย์การเรียนรู้ ดังนั้นควรจะตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ใกล้กลับแหล่งสถานศึกษา
และมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรมหลักภายในโครงการ คือการเรียนการสอน
อีกทั้งลักษณะการใช้ที่ดินต้องสอดคล้องกับประเภทของโครงการ
ไม่ขัดต่อข้อกำหนดของการใช้ที่ดินของผังเมืองรวม
2.2โครงสร้างบริการสาธารณะพื้นฐาน(Infrastructure and Facilities)
ลักษณะของโครงสร้างสาธารณะพื้นที่ฐานบริเวณที่ตั้งโครงการ
ต้องมีความ
พร้อม
เพื่อสนับสนุนโครงการในการดำเนินกิจกรรม หรือการใช้สอยต่างๆภายในโครงการ
และสามารถรองรับการขยายตัวของโครงการในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2.3ความสะดวกในการเข้าถึง
(Accessibility)
เนื่องจากโครงการเป็นโครงการลักษณะจัดแสดงนิทรรศการผลงาน
และเผยแพร่ความรู้ ที่มีการดำเนินกิจกรรมหลัก คือจัดแสงผลงานและกิจกรรมรองคือการเรียนรู้ต่างๆภายในโครงการ
ซึ่งมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษา บุคคลภายนอกโครงการที่เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมภายในโครงการจำนวนมาก
ดังนั้นจึงต้องมีการเข้าถึงที่สะดวก และง่ายต่อการรับรู้
อีกทั้งยังต้องมีมุมมองของการเข้าถึงโครงการที่ชัดเจน อีกทั้งต้องคำนึงถึงเรื่องการเข้าถึงที่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายต่างๆให้กับโครงการ
2.4การคมนาคม
และสภาพการจราจร (Transportation
and Traffic)
โครงการควรจะมีสภาพแวดล้อมไปด้วยรูปแบบการคมนาคมที่เข้าสู่ตัวโครง
การที่หลากหลาย อยู่ในรูปการคมนาคมที่สะดวก สามารถเข้าถึงได้โดย
ซึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
และอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพการจราจรไม่แออัดมากนัก
เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของโครงการ
อีกทั้งยังทำให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆมีความสนใจที่จะเข้าดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ
3.ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociality and Culture)
3.1ลักษณะประชากร
(Population)
ลักษณะของประชากรในบริเวณพื้นที่ตั้งโครงการ
หรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ ต้องอยู่ในกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ
อีกทั้งยังต้องมีปริมาณของกลุ่มผู้ที่สนใจในโครงการอย่างพอเพียง
ทั้งในแง่ของลักษณะ และปริมาณ
3.2ความปลอดภัย (Safety)
พื้นที่ตั้งโครงการควรอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์
สินของผู้ใช้โครงการ และบริเวณทำเลที่ตั้งโครงการควรจะมีความสว่างและไม่เปลี่ยว
ในยามค่ำคืน มีสภาพแวดล้อมที่ดีและไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดอาชญากรรมต่างๆ
3.3ความเหมาะสมของประเภทอาคาร(Conformity)
อาคารของโครงการไม่ควรก่อให้เกิดผลเสียหรือผลกระทบกับอาคารโดยรอบ
บุคคลภายนอกสามารถที่จะมองเห็นโครงการได้โดยง่ายมีมุมมองที่ดีส่งเสริมกับโครงการและสามารถเข้าถึงโครงการได้โดยง่าย
4. ด้านสภาพแวดล้อม (Environment)
4.1สภาพบริเวณโดยรอบ
(Surrounding)
สภาพแวดล้อมมีความสำคัญมากที่สุดในการเลือกที่ตั้งโครงการ ควรตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
อยู่ในแหล่งชุมชนที่มีภาพลักษณ์ส่งเสริมสถาบันการศึกษา
อีกทั้งสภาพแวดล้อมของโครงการยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของโครงการ
4.2การมองเห็นที่ตั้งและลักษณะเชื้อเชิญ
(Approach and Invitation)
ลักษณะของที่ตั้ง
และสภาพแวดล้อมของโครงการต้องเอื้ออำนวยต่อโครงการในแง่ของการมองเห็นซึ่งต้องสามารถมองเห็นโดยง่ายจากในระยะใกล้
และระยะไกล อีกทั้งต้องมีสภาพของสิ่งแวดล้อมที่เชื้อเชิญ
และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายต่างๆของโครงการให้เข้าสู่สถาบัน
4.3ทิวทัศน์ (View from Site)
สภาพแวดล้อมภายนอกโครงการต้องมีสภาพแวดล้อที่ดี
ที่เอื้ออำนวยต่อการ
เรียนการสอน
อีกทั้งต้องสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์ความคิดในการเรียน หรือการผลิตชิ้นงาน
อีกทั้งมุมมองที่ดีจากภายในโครงการยังเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่โครงการ
4.4ความสัมพันธ์โครงการที่เกี่ยวข้อง(Linkage)
พื้นที่ตั้งโครงการควรจะมีสถานที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมโครงการ
ทั้งในส่วนของการเกื้อหนุนทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การตลาด
และการเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ อีกทั้งโครงการมีลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย
ทั้งส่วนเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล และการจัดแสดงงาน และพิพิธภัณฑ์
ดังนั้นควรมีการเชื่อมต่อกับโครงการอื่นที่มีส่วนส่งเสริม และมีความสัมพันธ์กันทางด้านกิจกรรม
2.หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้ง
เนื่องจากโครงการมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหาที่ตั้งโครงการ
ดังนั้นจึงนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการเพื่อหาที่ตั้งโครงการที่เหมาะสมที่สุดจากที่ตั้งโครงการทั้ง
3แห่ง โดยเป็นหลักเกณฑ์การให้ลำดับคะแนนตามลำดับความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์ดังนี้
![]() |
3.2.2แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพ(Image Concept)
แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพของพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
นั้นต้องสามารถสื่อถึงความเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ที่เน้นทางด้านความเป็นศิลปะผ้าทอไทยที่ผสมผสานกับความล้ำสมัยออกมาได้ในรูปแบบของอาคารสถาปัตยกรรม
โดยสามารถสะท้อนรูปลักษณ์ภายนอก และลักษณะคุณภาพของพื้นที่ภายในโครงการ ได้ดังนี้
1.แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพภายนอกโครงการ
ลักษณะการสะท้อนความเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
ออกมายังรูปลักษณ์ของอาคารนั้นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้
-กิจกรรมและหน้าที่ใช้สอย(Activities
and Function)
-ผู้ใช้โครงการ(User)
-ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของโครงการ(Site
and Environment)
-ยุคสมัยและสไตล์ตามช่วงเวลาที่โครงการนั้นเกิดขึ้น(Time
Period and Style)
3.3แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์(Economy
Concepts)
การกำหนดแนวความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์มีหลายประเด็นแต่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโปรแกรมทางสถาปัตยกรรม
3.3.1 ประสิทธิภาพอาคาร (Building Efficiency) ประกอบด้วย
-พื้นที่ใช้งานสุทธิ
(Assignable Area)คือพื้นที่รวมของทุกๆพื้นที่ใช้สอยที่
ต้องการตามโปรแกรม
-พื้นที่สนับสนุน(Unassigned Area)คือพื้นที่ที่นอกเหนือจากพื้นที่ใช้งานโดย
เฉพาะพื้นที่ทางสัญจร
ห้องเครื่อง ห้องน้ำส่วนรวม ห้องเก็บของผนังกั้นต่างๆ
โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถซึ่งแตกต่างไปตามกฎหมายของแต่ละท้องที่
และพื้นที่ใช้งานภายนอก (Outdoor Space)เพราะถือเป็นพื้นที่ใช้งานแต่อยู่ภายนอกอาคาร
-สัดส่วนประสิทธิภาพของอาคาร
(Efficiency Ratio)คือสัดส่วนร้อยละของ
พื้นที่สนับสนุนต่อพื้นที่ใช้งานสุทธิ
มีระดับโดยทั่วไปอยู่ 3 ระดับ คือ
1.ระดับดีมาก อัตราส่วน 40 – 50 % ของพื้นที่ทั้งหมด
2.ระดับปานกลาง
อัตราส่วน 30 % ของพื้นที่ทั้งหมด
3.ระดับประหยัด
อัตราส่วน 20 % ของพื้นที่ทั้งหมด
โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย เป็นโครงการประเภท
พิพิธภัณฑ์กึ่งศูนย์การเรียนรู้
ดังนั้นสัดส่วนของพื้นที่สนับสนุนต่อพื้นที่ใช้งานสุทธิจึงอยู่ในระดับดีมาก
มีพื้นที่ภายในอาคารเปิดโล่งมากพอเพื่อสร้างคุณภาพให้กับที่ว่างและเสริมสร้างทัศนียภาพให้กับอาคาร
โดยสามารถแบ่งสัดส่วนประสิทธิภาพของอาคารตามองค์ประกอบต่างๆ
ภายในโครงการได้ดังต่อไปนี้
3.3.2 คุณภาพอาคาร (Building Quality Control)
คุณภาพของอาคารสามารถบอกด้วยราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร
ซึ่งโดย
ทั่วไปรวมถึงงานสถาปัตยกรรม
งานโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาลแต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์พิเศษที่ติดตั้ง
สำหรับอาคารเพื่อการศึกษามีการประเมินค่าก่อสร้าง ดังนี้[1]
1.ระดับประหยัด ราคาค่าก่อสร้าง
8,000 บาท/ตารางเมตร
2.ระดับปานกลาง ราคาค่าก่อสร้าง 10,000 บาท/ตารางเมตร
3.ระดับดีมาก ราคาค่าก่อสร้าง 15,000 บาท/ตารางเมตร
สำหรับโครงการพิพิธภัณ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
เป็นโครงการพิพิธภัณ์กึ่งศูนย์การเรียนรู้ ดังนั้นจึงมีการกำหนดคุณภาพอาคารให้อยู่ในระดับระดับปานกลางถึงดีมาก
เนื่องจากต้องมีการควบคุมคุณภาพในด้านการจัดแสดงผลงาน และส่วนการเรียนรู้
เนื่องจากเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงการ
โดยสามารถแสดงรายละเอียดองค์ประกอบโครงการให้สัมพันธ์กับราคาค่าก่อสร้างและระดับคุณภาพอาคาร
ได้ดังต่อไปนี้
[1] จากตารางราคาค่าก่อสร้าง,เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชา AS 5217 THESIS PREPARATION
อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์นายวิสูตร โลหะจรูญ สถาบันส่งเสริมแฟชั่นดีไซน์นานาชาติ
ปีพ.ศ.2538
และหนังสือการจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรม โดย
ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ และ ดร. อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์
สรุป
แนวความคิดโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์โครงการพิพิธภัณ์เพื่อการเรียนรู้ผ้าทอไทย
เป็นโครงการที่เน้นทางด้านคุณภาพของอาคาร
แนวความคิดโครงการทางด้านเทคโนโลยี
เป็นการเลือกประเภทของเทคโนโลยีอาคารให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของโครงการโดยอ้างอิงจากบทที่2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ และสอดคล้องกับบทที่1 เป้าหมายโครงการ
เพื่อใช้ในการพิจารณาหา บทที่4 ในส่วนของรายละเอียดโครงการทางด้านเทคโนโลยี
-ระบบโครงสร้างอาคารต้องเหมาะสมและตอบรับกับรูปแบบอาคาร
-ระบบเทคโนโลยีอาคารและระบบการก่อสร้างต้องมีประสิทธืภาพที่ดีที่สุด
ในปริมาณราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
-ระบบเทคโนโลยีอาคารมีความเหมาะกับการใช้งานของอาคาร
-ระบบเทคโนโลยีอาคารต้องมีความปลอดภัยในการใช้งานในระยะยาว
-ระบบเทคโนโลยีอาคารต้องอายุยืนยาวในการใช้งาน
-ระบบเทคโนโลยีอาคารต้องสามารถช่วยประหยัดพลังงานอาคารได้
เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
3.4.1ระบบอาคาร(Building
System)
3.4.2ระบบเทคโนโลยีพิเศษ(Specific
Technology)
3.4.1ระบบอาคาร(Building System)
1ระบบโครงสร้างอาคาร(Building Structure)
1.1ระบบโครงสร้างเสาและคาน
ระบบโครงสร้างเสา-คานเป็นแบบระบบเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก
เนื่องจากราคาไม่แพงมากนัก และง่ายต่อการก่อสร้าง
ประกอบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการก่อสร้างจึงไม่มีขอบเขตในการก่อสร้างในระบบเสาและคานคอนกรีต
1.2ระบบโครงสร้างหลังคา
-ระบบโครงสร้างแบบ
Flat Slab
ระบบโครงสร้างหลังคาแบบFlat
Slab คล้ายคลึงกับโครงสร้างพื้น เพียงแต่ต้องมีวัสดุกันความร้อน
และวัสดุกันความชื้น
-ระบบแบบ
Truss
ระบบหลังคาแบบโครงสร้างเหล็ก
2มิติ เป็นโครงสร้างที่มีเพื่อส่วนที่มีการดัดโค้ง หรือรูปทรงแปลก
ง่ายต่อการบุวัสดุมุง และตกแต่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
-ระบบแบบ Space
Truss
ระบบหลังคาแบบโครงสร้างเหล็ก 3มิติ
เป็นโครงสร้างที่แสดงรูปทรงบางจุด เช่นโดม
หรือรูปทรงต่างที่ต้องการการถ่ายแรงน้ำหนีชักได้ดี
และส่งผลให้รูปลักษณ์อาคารสวยงาม
2.ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)
-ระบบปรับอากาศแบบ
Split Type
ส่วนพื้นที่ที่มีการใช้ระบบปรับอากาศแบบช่วงเวลา
เช่น ห้องเรียนหรือส่วนห้องทำงาน ก็ควรจะใช้ระบบปรับอากาศระบบนี้ เพื่อความประหยัด
-ส่วนระบบปรับอากาศแบบเครื่องทำน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำ
(Water Cooled
Water Chiller)
ส่วนที่ต้องใช้ระบบปรับอากาศแบบตลอดเวลา
หรือพื้นที่การใช้งานมีขนาดใหญ่เช่นส่วนสาธารณะ
หรือส่วนจัดแสดงนิทรรศการควรจะใช้ระบบนี้
3.ระบบสุขาภิบาล
3.1ระบบประปา
3.2ระบบน้ำเสีย
-ระบบน้ำเสียแบบทั่วไปโดยแยกเป็นระบบน้ำเสียจากอ่างหน้า
ระบบน้ำเสียจากท่อ และระบบน้ำเสียจากห้องครัว โดยระบายมาตามท่อแนวนอน แล้วมารวมกันในท่อแนวตั้งแล้วจึงนำไปบำบัดก่อนปล่อยสู่ท่อน้ำเสียสาธารณะ
โดยอุปกรณ์ร่วมระบบระบายน้ำเสีย คือ ที่ดักกลิ่น ตะแกรงดักกลิ่น และที่ดักไขมัน
3.3ระบบโสโครก
- ระบบน้ำโสโครกเป็นระบบที่ระบายของเสียจากโถส้วม
และโถปัสสาวะโดยระบบเดินท่อ จะมีท่อแนวนอนที่ต่อออกจากแหล่งกำเนิดสิ่งโสโครก
และท่อแนวตั้งที่เป็นท่อรวมท่อแนวนอนก่อนนำไปยังถังบำบัด โดยอุปกรณ์ร่วม
คือช่องทำความสะอาดท่อ
3.4ระบบบำบัดน้ำเสีย
-ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
ระบบนี้เหมาะกับอาคารขนาดกลาง ซึ่งง่ายต่อการดูแลรักษา มีประสิทธิภาพดี
และราคาไม่แพง
4ระบบไฟฟ้ากำลัง(Eletricity)
-ระบบไฟฟ้ากำลังแบบ
Sub-station
เนื่องจากต้องการของกำลังไฟฟ้าสูง
เพื่อความสะดวกสบายของโครงการในการจ่ายปริมาณไฟฟ้าจำนวนมาก
จึงจำเป็นต้องแยกหม้อแปลงไฟฟ้าออกมาต่างหาก
โดยแยกส่วนเป็นของภายในโครงการจากระบบไฟฟ้าสาธารณะโดยทั่วไป
5.ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency System)
-ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบดีเซล
เป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ คือ
หลังจากที่ไฟฟ้าเมนดับระบบจะสตาร์ทเครื่องและมีสวิทซ์สับเปลี่ยนจ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญ
-ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบแบตเตอร์รี่
จะถูกติดตั้งเพื่อให้แสงสว่างในระหว่างที่รอไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
System)
ระบบป้องกันไฟฟ้าแบบนี้สามารถป้องกันฟ้าผ่ารอบอาคารได้
โดยส่วนประกอบสำคัญได้แก่
1.สายล่อฟ้า
2.สายนำลงดิน
3.สายรายดิน
7.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(Communication)
7.1ระบบโทรศัพท์(Telephone
System)
-ระบบโทรศัพท์ภายในอาคารหลังจาก
เชื่อมสายจากองค์การโทรศัพท์กับห้องชุมสายแล้ว
สายโทรศัพท์จะแยกเข้าตู้สาขา เพื่อจัดระบบ และหมายเลข
จากนั้นจะส่งไปยังแผงควบคุมในแต่ละชั้น
-ระบบโทรศัพท์
ใช้สำหรับติดต่อระหว่างหน่วยงานในโครงการ
-ระบบโทรศัพท์สาธารณะสำหรับบุคคลทั่วไป
7.2ระบบโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV System)
-ระบบรักษาความปลอดภัยรวม
และแยกส่วนตามจุดสำคัญของอาคาร
ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบบระบบรักษาความปลอดภัยรวมของอาคาร
โดยจะมีการติดตั้งกล้องตามตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ทางเข้า โถง ในลิฟท์ ร้านอาหาร
และส่วนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งจอภาพสามารถปรับเปลี่ยนการมองด้วยการตั้งเวลาในการดู
เพื่อให้เกิดการมองพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง
ในกรณีที่อาคารมีขนาดใหญ่และมีความต้องการในการรักษาความปลอดภัยสูง
8.ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire Protection Extinguishers)
8.1ระบบป้องกันอัคคีภัย
ใช้แบบระบบทั้ง
Smoke Detector และ Heat Detector
ซึ่งเมื่อเกิดเพลิงไหม้จะทำการแสดงผลไปยังห้องควบคุมเพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังระบบ
Fire Detector System โดยระบบ Sprinkle
ซึ่งเมื่อโดนความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ปรอทจะแตกและปล่อยน้ำออก
เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยที่ดี
8.2ระบบดับเพลิง
-ชนิดสายสูบ
เป็นระบบท่อแห้งไม่มีน้ำอยู่ในสภาวะท่อปกติแต่มีอูปกรณ์ควบคุน้ำที่ส่งมาในท่อระบบนี้จะใช้คนนำสายสูบใช้ได้กับทุกมุม
ความยาวสายทั่วไป 15, 23และ30 เมตร
-ชนิดโปรยน้ำสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติคือการเดินท่อไปตามฝ้าเพดานแบบ
GRIDโดยเว้นระยะให้หัวฉีดกระจายน้ำออกไปซึ่งน้ำในท่อจะมีความดันพร้อมจ่าย
9.ระบบแสงสว่าง(Lighting)
-การให้แสงทางตรง คือ
แสงสว่างที่พุ่งตรงจากจุดกำเนิดแสงมาสู่สายตาเราโดยตรงโดยไม่มี วัสดุบัง
ดวงโคมที่ให้แสงสว่างจะต้องสะท้อนแสงลงมาได้ประมาณ 90 %
โดยการให้แสงทางตรงนั้นมักจะใช้ในการให้แสงสว่างในสำนักงาน โถง
ส่วนแสดงแฟชั่นโชว์ส่วนแสดงนิทรรศการและสถานที่ที่ต้องการเน้นแสงเฉพาะจุด
-การให้แสงกึ่งตรง คือ
การออกแบบให้แสงสว่างออกจากด้านล่าง ของแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงเพียงประมาณ 60-90% ของปริมาณแสงทั้งหมด
และกำหนดให้แสงส่วนที่เหลือฉายขึ้นไปกระทบเพดานส่วนหนึ่งและสะท้อนกระจายออกไป
การเลือกใช้แสงแบบกึ่งตรงนั้นจะใช้สำหรับสำนักงาน ห้องเรียน
และสถานที่ต่างๆที่ต้องการแสงสว่างเฉลี่ยในระดับที่เสมอกันทั่วบริเวณ
12.ระบบขยะ
ระบบการจัดเก็บขยะใช้แบบแยกขยะเปียก
และแห้ง ซึ่งสามารถแยกขยะในเบื้องต้นได้ก่อนที่จะออกนอกโครงการเพื่อนำไปกำจัด
ซึ่งระบบนี้สามารถรักษาดูแลได้ง่าย และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากในการจัดเก็บ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น